7.3 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาพีเอชพี เพื่อเพิ่มข้อมูลในตาราง
โดยในการเพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูล MySQL โดยใช้รูปแบบ MySQLi Procedural ในภาษาพีเอชพีสามารถทำได้โดยการตามขั้นตอนต่อไปนี้
7.3.1 เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
เริ่มต้นโดยการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ฟังก์ชัน mysqli_connect() โดยระบุ hostname, username, password และชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการเชื่อมต่อ โดยมีรูปแบบในหัวข้อ 7.2
7.3.2 สร้างคำสั่ง SQL เพื่อเพิ่มข้อมูล
ใช้คำสั่ง INSERT INTO เพื่อเพิ่มข้อมูลในตาราง โดยระบุชื่อ ตารางและค่าที่ต้องการเพิ่ม
รูปแบบการเขียนคำสั่ง INSERT
ตัวอย่างคำสั่งท่ีใช้เพิ่มข้อมูลลงในตาราง user
7.3.3 mysqli_query() เพื่อส่งคำสั่ง SQL ไปยัง MySQL Server
เพื่อทำการเพิ่มข้อมูลในตาราง ฟังก์ชัน mysqli_query() เป็นฟังก์ชันของภาษาพีเอชพี ที่ใช้สำหรับส่งคำสั่ง SQL ไปยังฐานข้อมูล MySQL เพื่อประมวลผล และรับผลลัพธ์กลับมาจากการสั่ง SQL นั้น ๆ ฟังก์ชันนี้สามารถใช้สำหรับการดำเนินการกับข้อมูลในฐานข้อมูลเช่น เพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาแสดง เป็นต้น
รูปแบบคำสั่งของฟังก์ชัน mysqli_query() คือ
โดยที่: $connection เป็นการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL ที่ต้องการส่งคำสั่ง SQL ไปประมวลผล
$query เป็นคำสั่ง SQL ที่ต้องการส่งไปยัง MySQL server เพื่อให้ประมวลผล
7.3.4 ปิดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
หลังจากเพิ่มข้อมูลเสร็จสิ้น ควรปิดการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ฟังก์ชัน mysqli_close()
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 7.2 การเขียนโปรแกรมภาษาพีเอชพี เพิ่มข้อมูลในตาราง
การสร้างฟอร์มบันทึกข้อมูล ในตัวอย่างจะทำการสร้างไฟล์ add_form.php สำหรับ สร้างฟอร์ม และ สร้างไฟล์ data.php สำหรับรับข้อมูลจากฟอร์ม บันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1
สร้างฟอร์มสำหรับรับข้อมูลเพื่อนำไปเพิ่มในตาราง แล้วบันทึกไฟล์ชื่อ add_form.php
Source Code:
ผลลัพธ์ที่ได้:
ทดสอบการทำงาน เปิด Web Browser พิมพ์ localhost/test_program/add_form.php จะแสดงหน้าจอดังรูปภาพ
ขั้นตอนที่ 2
รับค่าข้อมูลมาจากไฟล์ add_form.php ในรูปแบบ POST แล้วบันทึกไฟล์ชื่อ add_form.php
ผลลัพธ์ที่ได้:
ทดสอบการทำงาน เปิด Web Browser พิมพ์ localhost/Test_Program/add_form.php จะแสดงหน้าจอดังรูปภาพ
อธิบายโปรแกรม:
บรรทัดที่ 2 ใช้คำสั่ง require() นำเข้าไฟล์ connect.php เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูล
บรรทัดที่ 5 ใช้คำสั่ง isset ตรวจสอบปุ่ม submit ว่าถูกคลิกหรือไม่ ถ้าปุ่ม submit
ไม่ได้ถูกคลิก ค่าที่ส่งกลับจะเป็นเท็จ เมื่อมีเครื่องหมาย ! ค่าก็จะกลายเป็นจริง
บรรทัดที่ 6 – 9 รับค่าจากตัวแปร POST และ เก็บข้อมูลลงในตัวแปรของแต่ละ คอลัมน์
บรรทัดที่ 11 สร้างคำสั่ง SQL เพื่อเพิ่มข้อมูลลงในตารางแล้วเก็บค่าไว้ที่ตัวแปร $sql
บรรทัดที่ 14 - 18 ตรวจสอบเงื่อนไขด้วยคำสั่ง if…else โดยตรวจสอบค่าในตัวแปร
$result ว่าสามารถเชื่อมต่อ MySQL และเพิ่มข้อมูลในตารางได้สำเร็จหรือไม่ ถ้าสำเร็จจะแสดงข้อความ " New record created successfully" หากไม่สำเร็จจะแสดงข้อความ Error พร้อมข้อผิดพลาด
บรรทัดที่ 20 ปิดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
ทดสอบการเพิ่มข้อมูล
ไปที่ URL : localhost/Test_Program/ add_form.php กรอกข้อมูลตัวอย่างเพิ่มทดสอบการส่งข้อมูล
หากบันทึกข้อมูลสำเร็จจะแสดงผลดังภาพ
ตรวจสอบใน localhost/phpmyadmin จะพบข้อมูลที่เราบันทึกเข้าไปใหม่