3.1 การเขียนโปรแกรมแบบตรวจสอบเงื่อนไข
คําสั่งสําหรับตรวจสอบเงื่อนไข สําหรับการเปรียบเทียบค่าของตัวแปร ตัวเลข หรือ ตัวอักษร เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด ซึ่งสามารถระบุเงื่อนไขได้ตามที่ผู้พัฒนาต้องการ โดยรูปแบบการตรวจสอบเงื่อนไขแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
3.1.1 if statement เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขแบบเงื่อนไขเดียว กรณีที่เงื่อนไขเป็นจริง
3.1.2 if else statement เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขแบบเงื่อนไขเดียว โดยจะทํางานตาม คําสั่งทั้งกรณีที่เงื่อนไขเป็นจริง และเงื่อนไขเป็นเท็จ
3.1.3 if elseif else statement เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข ซึ่งสามารถ ระบุเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถเขียนคําสั่งทํางานของโปรแกรมได้ทั้งเงื่อนไข ที่เป็นจริงและเป็นเท็จ และยังสามารถเพิ่มเงื่อนไขได้หลายเงื่อนไข
3.1.4 switch statement เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข แต่เงื่อนไขจะต้องทราบค่าที่แน่นอนอยู่แล้วเพื่อการตรวจสอบ เพื่อให้ทํางานตามเงื่อนไขที่ต้องการ
3.1.1 การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if statement
เป็นลักษณะของคําสั่งที่มีทางเลือกเดียว คือ ถ้าเงื่อนไขในการตรวจสอบเป็นจริง จึงจะทํางานตามประโยคคําสั่ง (Statement) หรือกลุ่มคําสั่ง (Statement Block) หากเงื่อนไขการตรวจสอบเป็นเท็จ ก็ให้ข้ามไปทําคําสั่งถัดไป ซึ่งประโยคคําสั่งอาจจะมีเงื่อนไขเดียว หรือหลายเงื่อนไขก็ได้ โดยเงื่อนไขที่ใช้การตรวจปกติจะเป็นนิพจน์ (Expression) คําสั่งแบบทางเลือกเดียวคือ คําสั่ง if (if-Statement) คําสั่ง if สามารถเขียนเป็นฝังงาน (Flowchart) ได้ดังแสดงในรูปที่ 3.1
จะมีรูปแบบดังนี้
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.1 โปรแกรมแสดงผลการใช้คําสั่ง if statement
เขียนคําสั่งโปรแกรมภาษาพีเอชพี ตามตัวอย่าง แล้วบันทึกไฟล์ชื่อ testIf1.php กําหนดค่าคงที่ชนิดเลขจํานวนเต็ม ตรวจสอบเงื่อนไข ตัวเลข มากกว่า 5 หรือไม่
Source Code:
ผลรันโปรแกรม testIf1.php
อธิบายโปรแกรม testIf1.php
บรรทัดที่ 1 เปิดแท็กภาษา PHP
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร num เพื่อเก็บค่าตัวแปรของรูปแบบจํานวนเต็ม เท่ากับ 10
บรรทัดที่ 3 - 5 ตรวจสอบเงื่อนไข ข้อมูลตัวเลขที่เก็บในตัวแปร num มากกว่า 5 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ "num more than 5"
บรรทัดที่ 6 ปิดแท็กภาษา PHP
กรณีผลลัพธ์ในตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.1 มีข้อมูลตัวเลขที่เก็บในตัวแปร num น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 โปรแกรมจะไม่แสดงข้อความใดๆ และจบการทํางานโปรแกรม เนื่องจากค่าที่รับเป็นเท็จ ถ้าตัวแปร num เก็บค่าตัวเลขที่มีค่ามากกว่า 5 เช่น 10 จะแสดงข้อความ "num more than 5" เนื่องจากเงื่อนไขเป็นจริง
3.1.2 การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if else statement
คําสั่ง If - else จะทํางานในส่วนของ if เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และทํางานในส่วนของ else เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ สามารถเขียนเป็นฝังงาน (Flowchart) ได้ดังแสดงในรูปที่ 3.2
ซึ่งมีรูปแบบของคําสั่งดังนี้
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.2 โปรแกรมแสดงผลการใช้คําสั่ง if statement
เขียนคําสั่งโปรแกรมภาษาพีเอชพี ตามตัวอย่าง แล้วบันทึกไฟล์ชื่อ testIf2.php กําหนดค่าคงที่ชนิดเลขจํานวนเต็ม ตรวจสอบเงื่อนไข ตัวเลข มากกว่า 5 หรือน้อยกว่า 5
Source Code:
ผลรันโปรแกรม testIf2.php
อธิบายโปรแกรม testIf2.php
บรรทัดที่ 1 เปิดแท็กภาษา PHP
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร num เพื่อเก็บค่าตัวแปรของรูปแบบจํานวนเต็มเท่ากับ 2
บรรทัดที่ 3 - 5 ตรวจสอบเงื่อนไข ข้อมูลตัวเลขที่เก็บในตัวแปร num มากกว่า 5 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ "num more than 5"
บรรทัดที่ 6 - 8 ถ้าเงื่อนไขของ if เป็นเท็จ แสดงข้อความ "num less than 5"
บรรทัดที่ 9 ปิดแท็กภาษา PHP
กรณีผลลัพธ์ในตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.2 มีการกำหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปร num มากกว่า 5 เช่น 10 จะแสดงข้อความ "num more than 5" เนื่องเงื่อนไขเป็นจริง ถ้ากำหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปร num น้อยกว่า 5 เช่น 2 จะแสดงข้อความ "num less than 5" เนื่องจากเงื่อนไขเป็นเท็จ
3.1.3 การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if elseif else statement
การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if elseif else นี้ สามารถระบุเงื่อนไขได้ตามความต้องการ ซึ่ง สามารถตรวจเช็คได้หลายเงื่อนไข ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในการเขียนโปรแกรม เช่น การตรวจสอบ ค่าตัวแปรที่มีหลายช่วงลําดับ เป็นต้น สามารถเขียนเป็นฝังงาน (Flowchart) ได้ดังแสดงในรูปที่ 3.3
มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.3 การใช้ if - else
เขียนคําสั่งโปรแกรมภาษาพีเอชพี ตามตัวอย่าง บันทึกไฟล์ชื่อ TestIf3.php กําหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปรชนิดเลขจํานวนเต็ม ตรวจสอบเงื่อนไข มากกว่า 5 น้อยกว่า 5 หรือเท่ากับ 5
Source Code
ผลรันโปรแกรม TestIf3.php
อธิบายโปรแกรม TestIf3.php
บรรทัดที่ 1 เปิดแท็กภาษา PHP
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร num เพื่อเก็บค่าตัวแปรของรูปแบบจำนวนเต็ม เท่ากับ 25
บรรทัดที่ 3 - 5 ตรวจสอบเงื่อนไข ข้อมูลตัวเลขที่เก็บในตัวแปร num มากกว่า 5 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ "num more than 5"
บรรทัดที่ 6 - 8 ตรวจสอบเงื่อนไข ข้อมูลตัวเลขที่เก็บในตัวแปร num น้อยกว่า 5 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ "num less than 5"
บรรทัดที่ 9 - 11 ถ้าเงื่อนไขของ if เป็นเท็จ แสดงข้อความ " num equal 5"
บรรทัดที่ 12 ปิดแท็กภาษา PHP
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.4 การใช้ if - else if - else และเครื่อหมาย &&
เขียนคําสั่งโปรแกรมภาษาพีเอชพี ตามตัวอย่าง แล้วบันทึกไฟล์ชื่อ TestIf4.php กําหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปรชนิดเลขจํานวนเต็ม และนํามาตรวจสอบเงื่อนไข
Source Code:
ผลรันโปรแกรม TestIf4.php
อธิบายโปรแกรม TestIf4.php
บรรทัดที่ 1 เปิดแท็กภาษา PHP
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร i เพื่อเก็บค่าตัวแปรของรูปแบบจำนวนเต็ม เท่ากับ 75
บรรทัดที่ 3 - 5 ตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของตัวแปร i มีค่าเท่ากับ 80 – 100 จริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ " mark 80 - 100 Grade = A "
บรรทัดที่ 6 - 8 ตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของตัวแปร i มีค่าเท่ากับ 75 – 79 จริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ " mark 75-79 Grade = B+"
บรรทัดที่ 9 - 11 เมื่อเงื่อนไขแรกเป็นเท็จ ตรวจสอบเงื่อนไขค่าของตัวแปร i มีค่าเท่ากับ 70 –74 จริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงแสดงข้อความ " mark 70-74 Grade = B "
บรรทัดที่ 12 - 14 ถ้าเงื่อนไขของ if เป็นเท็จ แสดงข้อความ " Out of range "
บรรทัดที่ 15 ปิดแท็กภาษา PHP
3.1.4 การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement
การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement เป็นคําสั่งที่ใช้ทดสอบเงื่อนไขที่มีหลายๆ ทางเลือก คําสั่ง Switch มีการทํางาน คือ จะทําการตรวจสอบนิพจน์ที่อยู่หลังคําสั่ง Switch ถ้าตรงกับเงื่อนไขในกรณี (Case) ใดก็จะเลือกทําคําสั่งในกรณีนั้นเลย ส่วนคําสั่ง break จะเป็นคําสั่งให้ออกจากคําสั่ง Switch ในกรณีที่นิพจน์ไม่ตรงกับเงื่อนไขในกรณีใดๆ เลย จะทําตามคําสั่งใน default
ซึ่งแสดงขั้นตอนการทํางานได้ดังผังงานในรูปที่ 3.4
การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement มีสิ่งที่ควรรู้ 4 ประการคือ
1. การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement ต่างจากคําสั่ง การตรวจสอบ เงื่อนไขโดยใช้ if ตรงที่ switch สามารถทดสอบเงื่อนไขได้หลายอย่าง แต่คําสั่ง if จะตรวจสอบ เฉพาะความสัมพันธ์เท่านั้น
2. ค่าคงที่ของการตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement สามารถมีค่าซ้ำกันได้
3. ถ้าค่าคงที่เป็นตัวอักษร การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement จะมองเป็นจํานวนเต็ม
4. ค่า default จะมีหรือไม่มีก็ได้
การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement มีรูปแบบดังนี้
ตัวอย่างโปรแกรมที่ 3.5 การตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ switch statement
เขียนคําสั่งโปรแกรมภาษาพีเอชพีตามตัวอย่าง บันทึกไฟล์ชื่อ Testswitch.php กําหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปร เป็นชนิดตัวเลขจํานวนเต็ม แสดงข้อความอ่านตัวเลข 1-3
Source Code:
ผลรันโปรแกรม Testswitch.php
อธิบายโปรแกรม Testswitch.php
บรรทัดที่ 1 เปิดแท็กภาษา PHP
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร number เพื่อเก็บค่าตัวแปรของรูปแบบจำนวนเต็ม เท่ากับ 2
บรรทัดที่ 3 ให้แสดงข้อความ " ==================" พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 4 ให้แสดงข้อความ " Main Menu " พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 5 ให้แสดงข้อความ " ==================" พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 6 ให้แสดงข้อความ " 1. Java " พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 7 ให้แสดงข้อความ " 2. php " พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 8 ให้แสดงข้อความ " 3. C++" พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 9 ให้แสดงข้อความ " ==================" พร้อมกับขึ้นบรรทัดใหม่
บรรทัดที่ 11 ตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของตัวแปร number ว่าตรงกับ 1 หรือไม่ ถ้าเป็นจริง ให้แสดงข้อความ "Choose Java "
บรรทัดที่ 12 ถ้า number ตรงกับ 1 และแสดงข้อความแล้ว โปรแกรมจะหยุดทำงาน
บรรทัดที่ 13 ตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของตัวแปร number ว่าตรงกับ 2 หรือไม่ ถ้าเป็นจริง ให้แสดงข้อความ "Choose php"
บรรทัดที่ 14 ถ้า number ตรงกับ 2 และแสดงข้อความแล้ว โปรแกรมจะหยุดทำงาน
บรรทัดที่ 15 ตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของตัวแปร number ว่าตรงกับ 3 หรือไม่ ถ้าเป็นจริง ให้แสดงข้อความ "Choose C++"
บรรทัดที่ 16 ถ้า number ตรงกับ 3 และแสดงข้อความแล้ว โปรแกรมจะหยุดทำงาน
บรรทัดที่ 17 ถ้าเงื่อนไขของ switch ไม่ตรงกับค่าใดๆ ให้แสดงข้อความ " Out of range "
บรรทัดที่ 18 ปิดแท็กภาษา PHP