2.1 พื้นฐานภาษาพีเอชพี (PHP)

      ภาษาพีเอชพี (PHP) ย่อมาจาก PHP Hypertext Preprocessor แต่เดิมย่อมาจาก Personal Home Page เป็นภาษาสคริปต์  ( Scripting Language ) คำสั่งต่าง ๆ จะเก็บในไฟล์ที่เรียกว่า สคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server-side scripting language) คือ มีลักษณะของการประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจะทำการส่งผลลัพธ์ในรูปแบบเอชทีเอ็มแอล (HTML) กลับไปยังเว็บบราวเซอร์ ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะทำให้สามารถใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) พัฒนาระบบงานในลักษณะโปรแกรมบนเว็บที่มีเนื้อหาเปลี่ยนแปลง (Dynamic Programming) ได้

รูปที่ 2.1 แสดงหน้าจอเว็บไซต์หลักพีเอชพี

2.1.1 ภาษา PHP มีคุณสมบัติที่โดดเด่น สรุปได้ดังนี้

1. เป็นภาษาที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและไม่ซับซ้อน

2. เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (Open Source) ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี

3. เป็นภาษาสคริปต์ที่ทำงานฝั่งเซริฟเวอร์ ทำให้สามารถทำงานได้เต็มที่ และไม่กระทบ กับการทำงานบนฝั่งไคลเอนต์

4. สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น Unix, Linux, Windows หรือ Mac OS 

5. สามารถทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลได้หลากหลาย เช่น Oracle, MS Access หรือ MariaDB (MySQL) เป็นต้น

6. สามารถทำงานได้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายประเภท เช่น Apache หรือ Internet  information Server (IIS) เป็นต้น

7. สนับสนุนการเขียนสคริปต์แบบเชิงวัตถุ (Object Orientation)

8. สามารถใช้งานร่วมกับ Extensible Markup Language (XML) ได้

2.1.2 การทำงานของพีเอชพี (PHP)

     ภาษาพีเอชพีรองรับการพัฒนาเว็บเพจแบบไดนามิกส์ สามารถอ่าน เขียน เปิด ลบ หรือ แก้ไข ไฟล์เอกสารได้บนเครื่องแม่ข่าย สามารถส่งและรับข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายได้ รวมไปถึงการเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลบนระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพีเอชพียังมีฟังก์ชั่นสําหรับการเข้ารหัส ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของระบบอีกด้วย ซึ่งการทํางานของภาษาพีเอชพีมีรูปแบบดังนี้

รูปที่ 2.2 การทํางานของภาษาพีเอชพีและฐานข้อมูล

     จากรูปที่ 2.2 การทํางานของภาษาพีเอชพีเริ่มต้นจากผู้พัฒนาเขียนรหัสคําสั่งพีเอชพีแล้วอัพโหลด ขึ้นไปติดตั้งบนเครื่องแม่ข่าย (web server) ซึ่งเครื่องแม่ข่ายจะต้องติดตั้งตัวแปรภาษาพีเอชพี (PHP interpreter) เพื่อแปลภาษาเป็นรหัสเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ซึ่งอาจจะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและพัฒนาของผู้พัฒนา ขั้นตอนการทํางานมีดังนี้ (Davis, 2007)

1. ผู้ใช้งานเปิดหน้าจอเว็บเบราว์เซอร์ จากนั้นร้องขอข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ต้องการโดยการ ระบุที่อยู่ผ่านทางยูอาร์แอลของระบบที่ต้องการ

2. เว็บเบราว์เซอร์จะทําการร้องขอข้อมูล (request) ไปยังเครื่องแม่ข่ายโดยอ้างอิงจาก หมายเลขไอพี (IP address) หรือ ชื่อเว็บไซต์ (domain name)

3. เว็บเซิร์ฟเวอร์รับข้อมูลการร้องขอข้อมูลโดยรับชื่อไฟล์เอกสารที่ต้องการ

4. เว็บเซิร์ฟเวอร์ค้นหาไฟล์เอกสารที่ต้องการจากฮาร์ดดิสก์ของเครื่องแม่ข่าย

5. เว็บเซิร์ฟเวอร์ตรวจพบไฟล์เอกสารพีเอชพี จากนั้นจะส่งรหัสคําสั่งของไฟล์เอกสารแล้วส่งไปยังตัวแปรภาษาเพื่อประมวลผลคําสั่งไฟล์

6. ตัวแปรภาษาพีเอชพี ทําการประมวลผลคําสั่ง

7. ถ้ามีคําสั่งสําหรับเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล ตัวแปลภาษาจะประมวลผลคําสั่งสําหรับ บริหารจัดการฐานข้อมูล เช่น การเพิ่ม ลบ แก้ไข หรือ ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น

8. ระบบฐานข้อมูลส่งผลที่ได้จากการประมวลผลกลับไป

9. ตัวแปรภาษาประมวลผลคําสั่งและแทรกข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล และส่งค่ากลับไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์

10. เว็บเซิร์ฟเวอร์จะทําการแปลงค่าที่ได้เป็นรหัสคําสั่งเอชทีเอ็มแอล และส่งกลับ (respond) ไปยังเว็บเบราว์เซอร์

11. เว็บเบราว์เซอร์ทําหน้าที่ในการแปลรหัสคําสั่งเอชทีเอ็มแอลเป็นหน้าเว็บเพจบนหน้าจอ