1.2 ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับพัฒนาโปรแกรม
ในปัจจุบันมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมมากมาย บางภาษาแม้ว่าได้มีมานานแล้วแต่ก็ยังได้รับความนิยม จึงมีเครื่องมือช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ภาษาแต่ละภาษาจะมีโครงสร้างของภาษาต่างกัน มีความสามารถโดดเด่นต่างกัน และใช้สภาพแวดล้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกันด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรม ได้แก่
1.2.1 ภาษาเบสิก (BASIC)
ภาษาเบสิกเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1963 ที่มหาวิทยาลัย Dartmouth College ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปี ค.ศ. 1980 คำว่า BASIC ย่อมาจากคำว่า Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ภาษานี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมเนื่องจากเป็นรูปแบบคำสั่งที่ง่าย แต่ความสามารถจะน้อยกว่าภาษาอื่น ๆ เนื่องจากเป็นภาษา ที่พัฒนามานานแล้ว
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการบวก ลบ คูณ และหารในภาษา BASIC มีลักษณะดังนี้:
1.2.2 ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)
ภาษาฟอร์แทรน เป็นภาษาระดับสูงเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1950 คําว่า FORTRAN ย่อมาจากคําว่า FORMULAR TRANSLATOR ภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการคํานวณ เหมาะสําหรับการเขียนโปรแกรมประยุกต์ทางคณิตศาสตร์ที่ทํางานบนเครื่องเมนเฟรม แต่ในปัจจุบันได้มีคอมไพล์เลอร์ที่พัฒนาขึ้นสําหรับแปลภาษาฟอร์แทรนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการบวก ลบ คูณ และหารในภาษาฟอร์แทรน มีลักษณะดังนี้:
1.2.3 ภาษาโคบอล (COBOL)
ภาษาโคบอลเกิดจากความร่วมมือของรัฐบาลสหรัฐกับองค์กรธุรกิจ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1960 ภาษาโคบอลมีชื่อเต็มว่า Business Oriented Language เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structure Program) เหมาะสําหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจ การจัดเก็บข้อมูล งานทางด้านบัญชี และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการบวก ลบ คูณ และหารในภาษา COBOL มีลักษณะดังนี้:
1.2.4 ภาษาปาสคาล (PASCAL)
ภาษาปาสคาลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 ชื่อของภาษาเป็นการตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ ที่ประดิษฐ์เครื่องคำนวณในยุกต์แรก ที่ชื่อ Blaise Pascal ภาษาปาสคาลเป็นภาษาระดับสูงที่ใช้เขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างได้ ตัวแปลภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ โปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ของบริษัทบอร์แลนด์ ในปัจจุบันในประเทศไทยได้ใช้โปรแกรมภาษาปาสคาลในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทั่วไป
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการบวก ลบ คูณ และหารในภาษา ปาสคาล (Pascal) มีลักษณะดังนี้:
1.2.5 ภาษาซี (C)
ภาษาซีพัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการเบลล์ (Bell Laboratory) ของบริษัท เอทีแอนด์ทีในปี ค.ศ. 1970 เพื่อใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) ต่อมาได้มีตัวแปลภาษาออกมามาก และได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง แต่ชุดคำสั่งจะมีกฏเกณฑ์และรายละเอียดต่าง ๆ จำนวนมาก
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการ บวก ลบ คูณ และหาร ในภาษา C:
1.2.6 ภาษาซีพลัสพลัส (C++)
ภาษาซีพลัสพลัสพัฒนาต่อมาจากภาษาซี โดยเพิ่มการเขียนโปรแกรมแบบคลาส (Class) เข้าไป ทำให้ภาษาซีมีความสามารถในการทำงานสูงขึ้น สามารถนำมาเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming) ได้ ภาษาซีพลัสพลัสได้รับความนิยมอย่างสูง เหมาะสำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับผู้เรียนที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมหรือผู้ที่คุ้นเคยในการเขียนโปรแกรมภาษาซีพลัสพลัสได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการ บวก ลบ คูณ และหาร ในภาษา C++:
1.2.7 ภาษาวิชวลเบสิก (VISUAL BASIC)
ภาษาวิชวลเบสิกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ชุดคำสั่งต่างๆ จะคล้ายกับภาษาเบสิก (BASIC) เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมสามารถสร้างหน้าจอในการติดต่อกับผู้ใช้ได้ง่าย ปัจจุบันภาษาวิชวลเบสิกถูกนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ ๆ จำนวนมาก ภาษาวิชวลเบสิกเหมาะสำหรับผู้พัฒนาโปรแกรม แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นเขียนโปรแกรม
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการ บวก ลบ คูณ และหาร ในภาษา Visual Basic (VB.NET):
1.2.8 ภาษาเพิร์ล (Perl)
ภาษาเพิร์ลเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1987 คำว่า Perl ย่อมาจากคำ Practical Extraction and Report Language เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการ บวก ลบ คูณ และหาร ในภาษา Perl:
1.2.9 ภาษาจาวา (JAVA)
ภาษาจาวาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 โดยบริษัท Sun Microsystem ที่พัฒนาให้เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ภาษาจาวาสามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระบบ เนื่องจากเวลาคอมไพล์แล้วจะได้ใช้ข้อมูลแบบ ไบต์โค้ด (Bytecode) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ภาษาจาวา จะต้องติดตั้ง Java virtual Machine ก่อน เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้ ปัจจุบันภาษาจาวา ได้ถูกพัฒนามาหลายรูปแบบ มีทั้งการเขียนโปรแกรมบนระบบเครือข่าย การเขียนโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการ บวก ลบ คูณ และหาร ในภาษา Java:
1.2.10 ภาษาพีเอชพี (PHP)
ภาษาพีเอชพี เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1994 โดยรัสมัส เลอร์ดอร์ฟ (Rasmus Lerdorf) คำว่า PHP ย่อมาจากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page ภาษาพีเอชพี เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส (Open Source) ภาษาพีเอชพี ใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบเอชทีเอ็มแอล (HTML) โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่งภาษาพีเอชพีนั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วกว่าภาษาจาวา
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับการ บวก ลบ คูณ และหาร ในภาษา PHP:
"; } else { switch ($operation) { case 'add': $result = $num1 + $num2; echo "Result: $num1 + $num2 = $result
"; break; case 'subtract': $result = $num1 - $num2; echo "Result: $num1 - $num2 = $result
"; break; case 'multiply': $result = $num1 * $num2; echo "Result: $num1 * $num2 = $result
"; break; case 'divide': if ($num2 != 0) { $result = $num1 / $num2; echo "Result: $num1 / $num2 = $result
"; } else { echo "Error: Division by zero is not allowed.
"; } break; default: echo "Invalid operation selected.
"; } } } ?>