ใบงานที่ 5.1

วิชาการโปรแกรมเว็บเบื้องต้น (Basic Web Programming) รหัสวิชา 20901-2202

บทที่ 5 การสร้างและใช้งานฟังก์ชัน

ชื่องาน : วนรอบแสดงผลสมาชิกในอาเรย์โดยใช้ลูป for

จุดประสงค์การเรียนรู้


จุดประสงค์ทั่วไป

เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับเขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชันเกี่ยวกับอาเรย์ (Array) ได้


จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

  1. เขียนโปรแกรมโดยใช้ฟังก์ชันเกี่ยวกับอาเรย์ (Array) ได้
  2. เขียนโปรแกรมการวนรอบการแสดงผลสมาชิกภายในอาเรย์ ได้
  3. แสดงผลเขียนโปรแกรมภาษาพีเอชพีได้ถูกต้อง
  4. รันโปรแกรมภาษาพีเอชพีได้
  5. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เงื่อนไข

     จงเขียนโปรแกรมภาษาพีเอชพี ที่มีอาเรย์เก็บชื่อของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทั้งหมด โดยให้แสดงผลชื่อของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดทีละคนตามลำดับที่เรียงลำดับในอาเรย์ โดยใช้ลูป for เพื่อวนรอบแสดงผลสมาชิกในอาเรย์ทั้งหมดออกมาทีละคน พร้อมกับนับลำดับของแต่ละคน และให้บันทึกไฟล์ชื่อ Chapter4_1.php


เครื่องมือและอุปกรณ์

  1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  1  ชุด

ข้อควรระวัง

  1. การตั้งชื่อไฟล์ในโปรแกรม  visual studio code ต้องตั้งค่าให้ ถูกต้องและไม่ซ้ำกับคีย์เวิร์ด
  2. การพิมพ์คำสั่งโปรแกรมต้องพิมพ์ให้ถูกต้อง ตรวจสอบความถูกต้องให้ดี  การพิมพ์คำสั่งผิดหรือ พิมพ์เครื่องหมายไม่ครบ  จะทำให้เกิดข้อผิดพลาด

ข้อเสนอแนะ

  1. วิเคราะห์ความต้องการของโจทย์คำสั่ง  และสิ่งที่ต้องทำการตรวจสอบเงื่อนไข
  2. ขณะเปิดโปรแกรม เมื่อเกิดข้อผิดพลาดควรอ่านข้อความที่แจ้งข้อผิดพลาด  เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุ
  3. หากไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ด้วยตัวเองให้ปรึกษาครูผู้สอน

ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน

  1. ให้นักศึกษาใช้โปรแกรม  Visual Studio Code เขียนโปรแกรมภาษาพีเอชพี โดยการเปิดโปรแกรม  Visual Studio Code ไปที่เมนู  File –> New File
  2. ตั้งชื่อไฟล์ (file Name) ชื่อ Chapter5_1.php
  3. เขียนคำสั่งประกาศตัวแปรอาเรย์ $participants สำหรับเก็บข้อมูลชื่อของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทั้งหมด
  4. เขียนคำสั่ง วนรอบการแสดงผลสมาชิกภายในอาเรย์โดยใช้ลูป for เพื่อวนรอบตามจำนวนสมาชิกในอาเรย์ $participants
  5. เขียนคำสั่งแสดงผลลำดับ และชื่อของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทั้งหมด ออกทางหน้าจอ 
  6. บันทึกไฟล์โปรแกรมภาษาพีเอชพี 
  7. รันโปรแกรมภาษาพีเอชพี ผ่านโปรแกรม  Google Chrome  หรือ  Web Browser ถ้ามีข้อผิดพลาด ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
  8. ตรวจสอบความสำเร็จจากการแสดงผลในหน้า  Web Browser

เกณฑ์การประเมินผล

คะแนนรวมตามแบบประเมินผลใบงาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80